เปิดสอนภาษาจีนแบบท่องจำกับครูตามบ้านหรือศาลเจ้าซึ่งเรียกว่า "ซือซก"
ได้ขยายเป็นโรงเรียนฮั่วบุ๋น ต่อมาหลวงชนาทรนิเทศได้มอบที่ดินสร้างโรงเรียนส่องเต็ก ณ ถนนดีบุก
ได้ปิดโรงเรียนส่องเต็กด้วยเหตุผลทางการเมือง สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการตั้งโรงเรียนสอนภาษาจีนขึ้นอีกครั้ง ชื่อว่า โรงเรียนภูเก็ตจุงหัว
โรงเรียนภูเก็ตจุงหัว ต้องหยุดทำการเรียนการสอนชั่วคราว เพื่อหลักเลี่ยงการถูกกล่าวหาทางการเมือง และในปีเดียวกันได้มีการจัดตั้งโรงเรียนจีนขึ้นใหม่โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว"
เปิดโรงเรียนมัธยมขึ้นใหม่ชื่อว่าโรงเรียนประศาสน์วิทยา โดยใช้อาคารห้องแถวสองชั้น (อาคารเฉ่งเหลี่ยน) อยู่ข้างโรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
เนื่องจากสถานที่คับแคบจึงได้ขยายโรงเรียนประศาสน์วิทยา ไปยังที่ดินของมูลนิธิ ถนนวิชิตสงคราม
เนื่องจากอาคารของโรงเรียนภูเก็ตไทยหัว สถานที่คับแคบ สมาคมนักเรียนเก่าได้รับการสนับสนุนจากชมรมสัมพันธ์เชื้อสายจีนจังหวัดภูเก็ตนวบรวมทุนก่อสร้างอาคารเรียนเป็นตึก 4 ชั้น หลังโรงเรียน ประศาสน์วิทยา โดยใช้ชื่อ อาคารสมาพันธ์เชื้อสายจีน
ได้รวมกิจการโรงเรียนภูเก็ตไทยหัวและประศาสน์วิทยาเข้าด้วยกันภายใต้ชื่อ โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว (ประศาสน์วิทยา) ได้ทำการสร้างอาคารเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ ศูนย์กีฬา เพิ่มเติมในเวลาต่อมา
ได้ติดต่อกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียว แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อความร่วมมือพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน
ได้มีพิธีลงนามร่วมมือด้านการศึกษา เพื่อให้สู่ระดับสากลระหว่างโรงเรียนภูเก็ตไทยหัว (ประศาสน์วิทยา) กับมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในชื่อ "โรงเรียนภูเก็ตไทยหัวอาเซียนวิทยา"
ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ก่อสร้างอาคารเรียนระดับมัธยมศึกษา
ก่อสร้างอาคารเรียน
ได้มีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนภูเก็ตไทยหัวอาเซียนวิทยา เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เข้าสู่มาตรฐานสากล โดยแบ่งออกเป็น 2 แผนก ฝั่งโรงเรียนเดิมเป็นระดับประถมศึกษาและโรงเรียนใหม่เป็นแผนกมัธยม
ร่วมลงนามเซ็นสัญญาความร่วมมือด้านการศึกษา ระหว่างโรงเรียนนานาชาติห่ายชาง เมืองเซียะเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีนกับโรงเรียนภูเก็ตไทยหัวอาเซียนวิทยา
พิธีลงนามจัดตั้งศูนย์รับสมัครนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียว
ร่วมลงนามความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมจีนปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน กับโรงเรียนภูเก็ตไทยหัวอาเซียนวิทยา
เชื่อมความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยนันยาง สิงคโปร์ เพื่อพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ
เชื่อมความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน วิทยาเขตมาเลเซียเพื่อพัฒนาด้านภาษาอังกฤษและการศึกษาต่อ